แผ่นคอมโพสิต - Amphoe Wapi Pathum

อลูมิเนียมคอมโพสิท (Aluminum Composite) หรือที่เราเรียกสั้น ๆ ว่าแคลดดิ้ง (Cladding) เป็นวัสดุก่อสร้างนวัตกรรมใหม่ ที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มโครงสร้างผนังเบา ด้วยเหตุนี้จึงสามารถนำไปใช้งานได้หลากหลายวัตถุประสงค์ อลูมิเนียมคอมโพสิท เป็นวัสดุที่ได้รับการคิดค้นและพัฒนาขึ้นจากการนำคุณสมบัติที่ดีของวัสดุหลาย ๆ ชนิดมาประกอบกัน เพื่อการผลิตวัสดุชนิดใหม่ที่มีคุณภาพสูง แข็งแกร่ง ทนทานต่อทุกสภาวะอากาศ ทนต่อกรดด่าง และความชื้น แต่ยังคงไว้ซึ่งน้ำหนักที่เบา และสามารถนำไปใช้งานได้ดี ทั้งภายในและนอกอาคาร

คอม โพ สิต คือ วัสดุที่มีคุณสมบัติพิเศษ เช่น ความทนทานต่อสภาวะแวดล้อมต่าง ๆ เช่น กรด มลพิษ และความสามารถในการทำความสะอาดตัวเอง นอกจากนี้ยังมีสีสันและลวดลายที่หลากหลาย ทำให้เหมาะสำหรับการใช้งานทั้งในด้านโครงสร้างและการตกแต่ง

รับเหมาติดตั้งคอมโพสิท

รับเหมาติดตั้งคอมโพสิท

จุดเด่นของอลูมิเนียม คอมโพสิท (Aluminum Composite)

- น้ำหนักเบาเพียง 3.5 – 5 กิโลกรัม/ตารางเมตร

- วัสดุและสีเคลือบมีความคงทน แข็งแรงมีอายุการใช้งานได้นานกว่า 10 ปี

- กันความร้อนและรังสี UV มีคุณสมบัติไม่ติดไฟ ทนต่ออุณหภูมิสูง ได้เกินกว่า 100 องศาเซลเซียส

- มีความยืดหยุ่นสูง ดัดโค้งขึ้นรูปง่าย ปรับแต่ง ได้หลายรูปทรง

- ติดตั้งง่าย ราคาไม่สูง การดูแลทำความสะอาดไม่ยุ่งยาก

- เก็บเสียงได้ดี ลดปัญหาเสียงก้อง และเสียงรบกวนในตัวอาคาร

- มีหลายเฉดสี รองรับการออกแบบทุกสไตล์มี รวมถึงลวดลาย และดีไซน์ต่างๆ มากมาย

ประเภทอลูมิเนียมคอมโพสิต (Aluminium Composite)

1. PE Coating : เป็นการเคลือบพีอี หรือโพลีเอสเตอร์ รูปแบบนี้ทนต่อรังสี UV มีความเรียบเนียนเหมาะสำหรับตกแต่งภายในหรือเลือกใช้เป็น OEM เพื่อให้เกิดความสะดุดสายตา

2. PVDF Coating : รูปแบบนี้มีให้เลืกถึง 2 แบบ ได้แก่

- Traditional PVDF มีความทนทาน ทนต่อด่าง ฝน จึงนิยมใช้กับการติดตั้งภายนอก

- Nanometer PVDF รูปแบบนี้ทนต่อสิ่งสกปรกเนื่องจากไม่เลอะเปรอะเปื้อนง่าย แม้จะเปื้อนก็สามารถ clean ตัวเองให้สะอาดได้ ไม่มีสิ่งสกปรกเกาะ

3. Spectra Color Coating : รูปแบบนี้จะเคลือบ PVDF 70% และยังผสมผงมุก เพื่อให้ได้สีสันที่โดดเด่น มีความเหลือบสวยงาม เหมาะสำหรับสิ่งปลูกสร้างที่ต้องการความแปลกตา โดดเด่น เช่น ห้างสรรพสินค้า ร้านค้า โรงแรม เป็นต้น

4. PEVE Coating (เอฟอีวีอี) : รูปแบบนี้จะผ่านกรรมวิธีอบสีโพลียูรีเทน ทำให้สีสันสดสวย เงางาม และยังทนทานในการใช้งานถึง 10 ปีขึ้นไป

5. Special Color Coating  : รูปแบบนี้มีอยู่ด้วยกัน 4 แบบดังนี้

- Brushed Panels ลายขนแมว

- Granite Panels การเคลือบด้วยอลูมิเนียม มีลวดลายคล้ายหิน สวยงามเหมาะกับพื้นที่ ที่ต้องการพื้นลายคล้ายหินอ่อน เป็นต้น

- Mirror Finished Panels  ผ่านกระบวนการขัดเงาและอะโนไดฟ์ ออกซิเดชั่น ให้สวยงาม มีความสะท้อนเงาคล้ายกระจก

- Two Colors in One Sheet รูปแบบนี้จะเป็นการเคลือบสี 2 สีเข้าด้วยกัน จึงทำให้เกิดเป็นลูกเล่น 2 มิติมีความเหลือบสี เมื่อสะท้อนต่อแสงในแต่ละด้าน

ข้อดีของอลูมิเนียมคอมโพสิต (Aluminium Composite)

- น้ำหนักเบา อลูมิเนียมคอมโพสิตมีน้ำหนักเบาเพียง 3.5-5 กก./ตร.ม. หากเทียบกับเหล็กแล้ว มีน้ำหนักเบากว่า 66% เป็นวัสดุที่มีความยืดหยุ่นสูง สามารถดัดงอได้ ทำให้สะดวกต่อการติดตั้ง และใช้งานได้อย่างปลอดภัย ไม่เปลืองโครงสร้าง

- วัสดุมีความคงทน แผ่นอลูมิเนียมคอมโพสิต ไม่กักเก็บความชื้น ทนต่อการกัดกร่อนไม่ทำให้เกิดสนิม ด้วยคุณสมบัติด้านความคงทนของวัสดุ จึงทำให้มีอายุการใช้งานยาวนานกว่า 10 ปี ที่สำคัญไม่ทำลายสุขภาพผู้อยู่อาศัยภายในอาคาร ตัววัสดุอลูมิเนียมดูแลทำความสะอาดง่าย

- ติดตั้งง่าย ตัววัสดุถูกออกแบบมาให้เคลื่อนย้ายได้สะดวก สามารถนำไปติดตั้งด้วยเครื่องมือ หรือ อุปกรณ์สำหรับไม้ และอลูมิเนียม ที่สำคัญมีน้ำหนักเบา ผู้ใช้งานสามารถวางแผนการใช้งาน การแบ่ง การพับแผ่น หรือการตัดงอได้อย่างอิสระ

- ลดความร้อน และเก็บเสียงได้ดี แผ่นอลูมิเนียม คอมโพสิต ถูกออกแบบมาให้ทนทานต่อแสง UV สามารถใช้เป็นฉนวนในการกันรังสีความร้อนเข้าสู่ตัวอาคาร ที่สำคัญยังสามารถกักเก็บเสียงภายในอาคารได้

- สามารถใช้กับงานได้หลายประเภท สามารถนำแผ่นอลูมิเนียมคอมโพสิต มาใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ เช่น ใช้หุ้มปิดผิวอาคารสูง, ใช้หุ้มเสากลมและเสาเหลี่ยม รวมไปถึงใช้ปิดผิวงานฝ้าเพดานได้ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ในงานโฆษณา และงานโชว์สินค้าต่างๆ โดยมีลวดลายของพื้นผิวที่หลากหลาย อย่างเช่น ลายกระจก, ลายไม้ และ ลายหินอ่อน เป็นต้น

ข้อเสียของอลูมิเนียมคอมโพสิต (Aluminium Composite)

- อลูมิเนียมเป็นวัสดุเปราะ แผ่นอลูมิเนียมคอมโพสิต แม้ว่าจะสามารถดัดได้แต่ไม่สามารถต้านทานแรงดัดในรัศมีแคบๆ ได้

- เมื่อใช้งานไปนานๆ อาจเกิดคราบน้ำ ด้วยพื้นผิววัสดุที่เป็นเนื้ออลูมิเนียมเคลือบสี จึงต้องหมั่นดูแลทำความสะอาดเมื่อรู้คุณสมบัติด้านการใช้งานของ แผ่นอลูมิเนียมคอมโพสิต กันไปแล้ว จะเห็นได้ว่าวัสดุชนิดนี้มีข้อดีที่ตอบโจทย์การนำมาทำเป็นส่วนประกอบของอาคาร จึงทำให้ในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็น วิศวกร สถาปนิกผู้ออกแบบ และช่างรับเหมาติดตั้ง นิยมใช้วัสดุชนิดนี้มาทำเป็นการตกแต่งผนัง หรือโครงสร้างของอาคาร

อลูมิเนียมคอมโพสิต ทำจากอะไร?

อลูมิเนียมคอมโพสิตของ ALU BE-BOND ประกอบด้วย ตัวแผ่นอลูมิเนียมหนาประมาณ 0.21 – 0.50 มม. มีระบบเคลือบสีที่แตกต่างกันออกไปตามแต่สเป็กของแต่ละงาน อาทิ เช่น PVDF หรือ Polyester และแกนกลางเป็นพลาสติกประเภทโพลีเอทิลีน (PE) หรือฉนวนกันไฟ (FR) เเละปิดผิวด้านหน้าของวัสดุด้วยฟิล์มกันรอยขีดข่วน

อลูมิเนียมคอมโพสิตมีสีอะไรบ้าง

1. อลูมิเนียมคอมโพสิต สีด้าน (Solid Color) พื้นสีเรียบ เฉดเดียวไม่สะท้อนเงา เหมาะสำหรับสีพื้นหลังที่ต้องการความเรียบง่าย สามารถมิกซ์แอนเเมทช์จับคู่กับสีอื่นๆได้อย่างลงตัว แผ่นคอมโพสิตสีด้านมีหลากหลายสี ได้แก่ สีดำ สีขาว สีครีม สีน้ำเงิน สีเขียว สีส้ม สีเหลือง สีเทา สีฟ้า ฯลฯ

2. อลูมิเนียมคอมโพสิต สีเมทัลลิก (Metalic Color) ด้วยเม็ดสีพิเศษที่ได้ความเป็นพื้นผิวโลหะคล้ายกับสีรถยนต์ พื้นผิวสะท้อนเเสงตกกระทบได้ดีกว่าสีด้าน เหมาะกับงานที่ต้องการเน้นความหรูหราทันสมัย แผ่นคอมโพสิตสีเมทัลลิก ได้แก่ สีซิลเวอร์ สีเชมเปญ สีทอง สีทองเเดง สีมิดไนท์ สีขาวสปาร์คกลิ้ง

3. อลูมิเนียมคอมโพสิต เคลือบสีเงา (High Gloss Color) ได้สีผิวที่เงางาม โดดเด่นด้วยความมันวาว สีสันสะดุดตา มักใช้ในงานตกแต่งส่วนหน้าอาคาร, ป้ายโฆษณา เป็นต้น แผ่นคอมโพสิตสีเงา ได้แก่ สีแดง สีน้ำเงิน สีขาว สีส้ม สีดำ สีเหลือง สีเขียว

4. อลูมิเนียมคอมโพสิต ลายไม้ (Wooden Color) เคลือบสีด้วยเทคนิคเฉพาะให้ลวดลายใกล้เคียงกับไม้ธรรมชาติ มีทั้งเฉดสีอ่อนเเละสีเข้ม ใช้ในงานตกแต่งนิทรรศการ, ร้านค้า, โรงแรม, รีสอร์ท, อพาร์ทเม้นต์, รีโนเวทอาคารเก่า, ตกแต่งระเบียง, พาร์ทิชันกั้น, เพดาน เป็นต้น

5. อลูมิเนียมคอมโพสิต ลายหินอ่อน (Granite Color) เนื้อผิวเหมือนงานหินอ่อน ใช้ได้ทั้งเหมาะอาคารสูงทันสมัย กำแพงม่าน, ประตูร้านค้า, ทางเข้าโครงการหมู่บ้าน ปูผนัง/เพดานในฮอล์

6. อลูมิเนียมคอมโพสิต ลายขนแมว (Brushed Color)
พื้นผิวของอลูมิเนียมด้านหน้าผ่านกระบวนการขัดเงาให้เป็น texture hairline มีสีเงินและสีทอง ใช้ในงานผนังม่านด้านนอกของอาคาร, Refitting ซ่อมแซมผนังภายนอกอาคาร แผงตกแต่งผนังภายใน, ฝ้าเพดาน, ทำระเบียงห้อง, งานป้ายโฆษณา, แผงโลโก้แผ่น 7.  อลูมิเนียมคอมโพสิต สีกระจกเงา (Mirror Color) ผ่านกระบวนการเคลือบผิวของอลูมิเนียมออกไซด์ให้ได้สีเหมือนกระจก ใช้วัสดุมีคุณภาพสูง สามารถตัด พับ ดัดโค้งได้ สีไม่แตกออกจากกัน แผ่นคอมโพสิตสีกระจกใช้ในงานตกแต่งฝ้าห้างสรรพสินค้า, สำนักงาน, ล็อบบี้โรงแรม ช่วยให้พื้นที่อาคารดูกว้างขวางขึ้น

กระบวนการผลิตคอมโพสิตเป็นอย่างไร?

ในการผลิตสามารถทำได้หลายรูปแบบดังนี้

1. วิธีการรีดแบบระเบิด วิธีนี้จะสามารถใช้กับการผลิตเป็นแผ่นจากทองแดงและอลูมิเนียม โดยวิธีการการกลิ้ง และด้วยวิธีการผสมแบบระเบิดและรีดแผ่นด้วยการรีด

2. วิธีรีดเย็น วิธีนี้ส่วนใหญ่จะใช้กับวัสดุที่เป็นม้วนแผ่นจากอลูมิเนียมทองแดง

3. วิธีการผสมผสานการระเบิด ซึ่งจะมีความเร็ว ทำให้เสร็จสมบูรณ์ในทันทีและมีความแข็งแรงในการยึดเกาะสูง

4. วิธีการรีดร้อน ส่วนใหญ่วิธีนี้จะใช้กับแผ่นหนาและม้วนทองแดง ขั้นตอนหลักของแผงคอมโพสิตทองแดง – อลูมิเนียมคือวิธีการผสมแบบระเบิด, วิธีการรีดแบบระเบิด

การนำวัสดุอลูมิเนียม คอมโพสิต (Aluminum Composite) ไปใช้งาน

1. ใช้หุ้มปิดผิวทั้งอาคารสูง โดยสามารถติดสลับกับกระจกได้ดี

2. ทำเป็นฉาก, กำแพง, ผนัง ทั้งภายนอก และภายในได้

3. สามารถหุ้มได้ทั้งเสากลม และเสาเหลี่ยม รวมถึงใช้ปิดผิวในงานฝ้าเพดาน และ Facade อาคารได้

4. สามารถใช้ในงานโฆษณา, งานโชว์สินค้าต่าง ๆได้

อลูมิเนียมคอมโพสิต มีระบบเคลือบสีอย่างไรบ้าง

ระบบสี PE (Polyethylene)
ระบบสี PE เป็นระบบที่ใช้สาร Polyethlene เป็นตัวช่วยในการทำให้สีติดแน่นกับผิวของแผ่นคอมโพสิตได้ดีขึ้น มีความทนทานต่อสภาพอากาศและสารเคมีได้ดี ช่วยลดการขีดข่วน สีมีความคงทน แต่ยังคงเป็นระบบสีที่มีต้นทุนต่ำ ซึ่งทำให้เหมาะสำหรับการนำไปใช้ งานป้าย งานเฟอร์นิเจอร์ งานภายใน และ ภายนอกอาคาร ทั้งนี้ความคงทนสดใสของสีขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ

ระบบสี PVDF (Polyvinylidene fluoride)
ระบบสี PVDF  เป็นระบบเคลือบสีแผ่นคอมโพสิต ที่ทำให้มีคุณสมบัติคงทนต่แสงแดด ต่อสภาพอากาศต่างๆได้ดี และมีความต้านทานต่อสารเคมี รวมถึงยังให้ความสวยงาม จึงเป็นที่นิยมมากที่สุดสำหรับการตกแต่งอาคาร แต่อย่างไรก็ตาม ระบบสี PVDF จะมีราคาที่สูงกว่าระบบสีอื่น ๆ เล็กน้อย แต่ถือว่าคุ้มค่ากับคุณภาพ และระยะเวลาการคงความสวยสดใสของสีแผ่นได้ยาวนานกว่า

ระบบสี FEVE (Fluoroethylene vinyl ether)
ระบบสี FEVE เป็นระบบสีที่มีความต้านทานต่อสภาพอากาศ และสารเคมีที่ดี ทำให้แผ่นอลูมิเนียมคอมโพสิตมีความแข็งแรง สามารถใช้งานได้ยาวนาน ให้ความมันวาวสูง ด้วยการเคลือบ อบด้วยสีประเภทโพลียูรีเทนมากกว่า 1 ครั้ง สีอลูมิเนียมคอมโพสิตจึงมีความสวยเงางาม คงทน

ปัจจัยในการประเมินราคางานติดตั้งอลูมิเนียมคอมโพสิต

ชนิดของแผ่นคอมโพสิต ที่ใช้ในการติดตั้ง ซึ่งมีให้เลือกตามวัตถุประสงค์การใช้งานของโครงการ และงบประมาณ เช่น การใช้งานภายใน หรือ ภายนอกอาคาร ซึ่งความหนาของแผ่นมีให้เลือก 3-4 mm หรือ ต้องการแผ่นชนิดไส้กลางมาตรฐาน (PE) หรือ ชนิดไส้กลางที่มีสารหน่วงไฟ ไม่ลามไฟ (FR)
นอกจากนี้แผ่น อลูมิเนียมคอมโพสิต ยังมีลวดลาย สีสันให้เลือกใช้หลากหลาย ซึ่งสีแต่ละแบบจะมีราคาที่แตกต่างกัน เช่น แผ่นสีกระจก สีลายไม้

รูปแบบ การออกแบบ ของงานติดตั้งแผ่นคอมโพสิต เนื่องจากคุณสมบัติของอลูมิเนียมคอมโพสิตมีความยืดหยุ่นที่ดี จึงสามารถนำมา ตัด พับ ดัดโค้ง หรือ ออกแบบฉลุลวดลายต่างๆ ได้สวยงาม ซึ่งหมายถึงงานที่ใช้เวลาและขั้นตอนในการทำงานที่มากขึ้น จึงทำให้ราคามีความแตกต่างกัน

สถานที่ติดตั้ง ซึ่งอาจมีปัจจัยในการเข้าถึงการทำงานได้สะดวกมากน้อยแตกต่างกัน เช่น อาคารสูงซึ่งต้องใช้นั่งร้าน หรือ อาจจำเป็นต้องรถกระเช้า

ข้อควรระวัง เกี่ยวกับฟิล์มป้องกันรอยขีดข่วน ของแผ่นคอมโพสิต

แผ่นอลูมิเนียมคอมโพสิต เมื่อถูกติดตั้งแล้ว ควรลอกฟิล์มป้องกันรอยออกภายในระยะเวลา 30-45 วัน เพื่อป้องการไม่ให้เกิดคราบกาวที่หน้าแผ่น เนื่องจากความร้อนของแสงแดดอาจทำปฎิกริยากับกาวของฟิล์มป้องกันรอยได้

อลูมิเนียมคอมโพสิต ดูแลรักษาอย่างไร

การดูแลรักษาแผ่นอลูมิเนียมคอมโพสิต ทำความสะอาดโดยใช้ น้ำสบู่ หรือ น้ำยาล้างจานเพียงเล็กน้อย กับผ้าขนนุ่ม ทำความสะอาด จากนั้นใช้น้ำเย็นล้าง หรือฉีดน้ำไล่คราบสกปรก และใช้ที่เช็ดกระจกยางไล่น้ำ สิ่งสำคัญ ไม่ควรใช้อุปกรณ์ที่เป็นฝอยขัดถู เพราะจะทำให้พื้นผิวเป็นรอย และไม่ควรใช้สารที่เป็นกรดจะทำให้กัดกร่อนพื้นผิวได้

ข้อมูลผลิตภัณฑ์

ความหนา : 3.0 มม., 4.0 มม., 0.5 มม. ความกว้าง : 965 มม., 1,270 มม., 1,575 มม. (สามารถสั่งตัดและกำหนดขนาดความกว้างพิเศษได้ระหว่าง 914 – 1,600 มม.)

ความยาว : 2,489 มม., 3,099 มม. (สามารถสั่งตัดและกำหนดขนาดความยาวพิเศษได้ระหว่าง 1,800 – 7,200 มม.)

น้ำหนัก : 6.0 กก./ตรม. (3.0 มม.), 7.6 กก./ตรม. (4.0 มม.), 10.9 กก./ตรม. (6.0 มม.)

ขั้นตอนมาตรฐานในการสั่งผลิตสีตามต้องการ

ตัวอย่างสีที่ถูกเคลือบบนวัสดุหรือผิวโลหะ เพื่อใช้เป็นตัวอย่างสีอ้างอิง (หากตัวอย่างเป็นสีที่เคลือบบนผิวโลหะ จะใกล้เคียงในการผสมสีมากกว่าตัวอย่างบนวัสดุชนิดอื่น)

ตัวอย่างสีมาตรฐานที่ผสมเสร็จ จะถูกดำเนินการแล้วเสร็จและส่งกลับมาภายใน 7-15 วันกรณีเป็นสีพิเศษอื่นๆ

ตัวอย่างสีที่ผสมขึ้น จะถูกสั่งผลิตเพื่อจำหน่ายต่อเมื่อได้รับเอกสารยืนยัน อนุมัติสีที่ถูกต้องจากลูกค้าเท่านั้น

อลูมิเนียมคอมโพสิต นวัตกรรมด้านการตกแต่ง

อลูมิเนียมคอมโพสิต คือนวัตกรรมด้านการตกแต่งที่กำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เนื่องจาก ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อให้เป็นวัสดุที่มีคุณภาพสูง โดยการนำวัสดุต่างชนิดที่มีคุณสมบัติที่แตกต่างมาประกอบเข้าด้วยกัน จนทำให้ได้วัสดุที่มีคุณภาพและมีความโดดเด่นในเรื่องของสีที่ทนต่อรังสียูวี สามารถรับประกัน อายุการใช้งานหรือรับประกันการซีดของสีได้ยาวนานมากกว่า 10 ปี อลูมิเนียมคอมโพสิต เป็นวัสดุที่เหมาะสำหรับงานตกแต่งทั้งภายในภายนอก โดยเฉพาะการตกแต่ง  พื้นผิวด้วยวัสดุอลูมิเนียมอัลลอยที่ช่วยเพิ่มความลงตัวให้กับทุกรายละเอียด เป็นนวัตกรรมด้านการตกแต่งที่ช่วยให้สถาปัตยกรรมมีความโดดเด่นสะดุดตา คุณสมบัติพิเศษนอกจากสีมีความสวยงามไม่แตกง่ายมีความ  หลากหลายให้เลือกแล้ว การเคลือบผิวดีเยี่ยมด้วยกระบวนการเคลือบผิวอัตโนมัติ ทำให้ผิวเรียบและยึดเกาะกับอลูมิเนียมได้ดี เป็นวัสดุที่ติดตั้งง่าย สะดวกรวดเร็ว สามารถปรับโค้งงอปรับเปลี่ยนสไตล์ได้ตามความ  ต้องการ โครงสร้างของแผ่นอลูมิเนียมคอมโพสิต ประกอบด้วย แผ่นแกนโพลีเอททิลีน (Polyethylene Core) ซึ่งมีหลากหลายชนิดแตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน เช่น ชนิดธรรมดา ชนิดกันความร้อน    ชนิดกันเสียง  ประกบหน้า-หลังด้วยแผ่นอลูมิเนียม โดยยึดให้ติดกันด้วยฟิล์มเหนียวเคลือบผิวแล้วปิดทับด้วยฟิล์มป้องกันการขูดขีด แผ่นอลูมิเนียมคอมโพสิตเป็นวัสดุวิศวกรรมเอนกประสงค์คุณภาพมาตรฐาน เพราะผ่านการ ตรวจสอบมาตรฐานสากลโดยผู้ทดสอบที่ได้รับการยอมรับ เพื่อให้มั่นใจในคุณภาพของผลิตภัณฑ์ควรเลือกซื้ออลูมิเนียมคอมโพสิตจากศูนย์ตัวแทนจำหน่ายหรือบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะ เพราะนอกจากจะได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพแล้ว ยังได้รับคำแนะนำจากผู้ที่ผ่านการอบรมซึ่งมีความรู้ความเชียวชาญเป็นอย่างดี

แผ่นคอมโพสิต Amphoe Wapi Pathum โดยทีมช่างมืออาชีพที่มีประสบการณ์ด้านงานติดตั้งแผ่นคอมโพสิทโดยเฉพาะ